บริการวิเคราะห์อาหารสัตว์


ห้องปฏิบัติการวิเคราะห์อาหารสัตว์ 
ภาควิชาสัตวบาล คณะเกษตร มก. บางเขน

ได้จัดตั้งขึ้นเมื่อประมาณ 50 กว่าปีแล้ว ทั้งนี้เพื่อประโยชน์การเรียนการสอน การวิจัยและงานบริการวิชาการ   โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ส่วนประกอบทางเคมี & ตรวจสอบคุณภาพอาหารสัตว์ และเพื่อให้เกิดความมั่นใจในผลการทดสอบ  ห้องปฏิบัติการฯได้จัดแผนการปฎิบัติงาน ดังนี้

1. จัดให้บุคลากรเข้าอบรมการจัดระบบมาตรฐานคุณภาพห้องปฏิบัติการ ( ISO/IEC17025 ) โดยเข้าอบรมที่กรมวิทยาศาสตร์บริการ ซึ่งห้องปฏิบัติการได้นำระบบ ISO/IEC 17025 เป็นเกณฑ์ในการดำเนินงานในห้องปฏิบัติการ และให้บุคลากรเข้าอบรมหลักสูตรอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์อาหารสัตว์ด้วย

2. จัดให้มีการสอบเทียบเครื่องมือและเครื่องแก้วที่ใช้วัดปริมาตร   โดยเข้ารับการสอบเทียบที่กรมวิทยาศาสตร์บริการและสถาบันอาหาร

3. เข้าร่วมกิจกรรมการทดสอบความชำนาญ (PT) อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ซึ่งเป็นการปฏิบัติตามข้อกำหนดของมอก.17025 (ISO/IEC17025) เพื่อเป็นการพัฒนาศักยภาพห้องปฏิบัติการ ก่อให้เกิดความเชื่อมั่นในผลการทดสอบ มีการจัดทำฐานข้อมูลห้องปฏิบัติการในการสร้างดัชนีชี้วัดสำหรับประเมินความสามารถห้องปฎิบัติการและผู้ทดสอบ โดยศูนย์บริหารจัดการทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ กรมวิทยาศาสตร์บริการ     กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี่ ห้องปฏิบัติการฯ ภาควิชาสัตวบาล ได้นำผลการประเมินสมรรถนะห้องปฏิบัติการฯ มาปรับปรุง แก้ไขข้อบกพร่องของการวิเคราะห์อาหาร ทั้งนี้เพื่อให้ผลการทดสอบเป็นที่ยอมรับและเชื่อถือได้ของผู้ใช้บริการ


1306495297745

งานบริการวิชาการ

ห้องปฎิบัติการวิเคราะห์ฯได้รับอนุมัติให้เปิดโครงการพัฒนาวิชาการ   เรื่อง   การวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมีและตรวจสอบคุณภาพอาหารสัตว์ โดยเปิดรับวิเคราะห์โภชนะในตัวอย่างอาหาร ดังนี้

1. วิธี Proximate Analysis ประกอบด้วย ความชื้น (Moisture), โปรตีน (Crude protein) , ไขมัน (Ether extract) ,   เยื่อใย (Crude Fiber)และเถ้า (Ash)

2. วิธีวิเคราะห์แบบ Van Soest Sytem ในพืชอาหารสัตว์ ประกอบด้วย การวิเคราะห์หาผนังเซลล์ (Neutral detergent fiber ; NDF) และ การวิเคราะห์หา Acid detergent fiber ; ADF

3. วิธีวิเคราะห์หาแร่ธาตุที่สำคัญ ; แคลเซียม (Ca), ฟอสฟอรัส (P) และโซเดียมคลอไรด์ (NaCl)

4. วิธีวิเคราะห์หาพลังงานทั้งหมด (gross energy)

hay

อัตราค่าบริการวิเคราะห์

1. ความชื้น (DM)   ตัวอย่างละ 200 บาท***

2. โปรตีน (CP)    ตัวอย่างละ 400  บาท***

3.  ไขมัน (EE)    ตัวอย่างละ 550 บาท

4.  เยื่อใยหยาบ (CF)    ตัวอย่างละ 550 บาท

5.  เถ้า (Ash)    ตัวอย่างละ 400 บาท

6.  NDF    ตัวอย่างละ 550 บาท

7. ADF    ตัวอย่างละ 600 บาท

8. ADL   ตัวอย่างละ 550 บาท

9. แคลเซียม    ตัวอย่างละ 450 บาท

10.  ฟอสฟอรัส    ตัวอย่างละ 450 บาท

11. NaCl    ตัวอย่างละ 450 บาท

12. พลังงาน    ตัวอย่างละ 600 บาท***

13. Acid Insoluble Ash (AIA)    ตัวอย่างละ 450 บาท

*** กรณีที่ต้องการวิเคราะห์ด่วนพิเศษ (ความชื้น โปรตีน และพลังงาน คิดราคาเพิ่มจากเดิมตัวอย่างละ 100 บาท ต่อรายการวิเคราะห์) ในกรณีด่วนพิเศษ กรุณานำส่งตัวอย่างให้ถึงห้องปฏิบัติการก่อน 9.00 น. และจะทราบผลการวิเคราะห์ภายใน 16.30 น. ในวันเดียวกัน

rabbit-feed[1]

ขั้นตอนการส่งตัวอย่าง

1. กรอกแบบคำร้องขอส่งตัวอย่าง สามารถดาวโหลดได้ที่นี้ // แบบคำร้อง Doc // แบบคำร้อง PDF  //

2. ส่งตัวอย่างและแบบคำร้องมาที่ ห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ฯ ชั้น 3 ตึกจรัด-สุนทรสิงห์ ภาควิชาสัตวบาล คณะเกษตร โทร 02-5791120 ต่อ 20 Fax 02–5791120 ต่อ 12  คุณนิภารัตน์  โคตะนนท์ หรือ อาจารย์ ดร.พงศ์ธร คงมั่น  // email: fagrnrk@ku.ac.th // fagrptk@ku.ac.th

3. ชำระเงินโดยเงินสด หรือ วิธีการโอน พร้อมแสดงใบเสร็จชำระเงิน หรือ หลักฐานการโอนเงิน

ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) (TMB)  ชื่อบัญชี นายพงศ์ธร คงมั่น หมายเลข 165-2-30862-6 สาขา เมกาบางนา

4. กระบวนการวิเคราะห์จะเริ่มหลังจากตรวจสอบการโอนเงินแล้วเสร็จ

5. ผลการวิเคราะห์จะได้ภายใน 7 วัน ทำการ (ขึ้นอยู่กับจำนวนตัวอย่าง)

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s

%d bloggers like this: